“FOOD INTOLERANCE ตรวจภาวะแพ้อาหารแอบแฝง อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม”
ธรรมชาติได้สร้างให้ร่างกายมนุษย์มีภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ ได้ตั้งแต่แรกคลอด ตอนอยู่ในครรภ์ ทารกอาศัยภูมิต้านทานมารดาคอยปกป้อง แต่เมื่อคลอด ทารกต้องสร้างภูมิต้านทานด้วยตัวเอง ถ้าสร้างภูมิต้านทานได้ไม่สมดุล ก็จะก่อให้เกิดโรคชนิดต่างๆ
เมื่อพูดถึงโรคภูมิแพ้ เรามักจะนึกถึงผู้ที่เป็นภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม เช่น แพ้ไรฝุ่น ขนแมว เกสรดอกไม้ ซึ่งเมื่อสัมผัสหรือหายใจเข้าไปแล้วมักมีอาการคัน จาม เป็นผื่นและหากพูดถึงการแพ้อาหาร เราก็มักจะนึกถึงผู้ป่วยที่มีอาการทางด้านระบบทางเดินหายใจหอบหืด ผู้ที่แพ้อาหารแล้วเป็นผื่นตามตัว หรือบางครั้งผู้ที่แพ้ถึงแก่ชีวิตเนื่องจากเกิดอาการช็อก อาการแพ้อาหารแบบนี้เรียกว่า “ภูมิแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน” โดยเม็ดเลือดขาวสร้างแอนติบอดี้ชนิด lgE ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้อย่างรุนแรง
แต่การแพ้อีกแบบหนึ่งซึ่งพบมากในปัจจุบัน นั่นคือ ภูมิแพ้อาหารแอบแฝงเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายสร้างแอนติบอดี้ชนิด lgG ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้เพื่อทำลายสารบางอย่างในอาหารนั้นปฏิกิริยานี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติอะไร ปัญหาอยู่ที่บางครั้งแอนติบอดี้ lgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นหันกลับมาทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเราเองเนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม เหตุการณ์นี้จะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยๆและตราบที่เรายังบริโภคอาหารที่ร่างกายเราต่อต้านอยู่ lgG ก็จะถูกสร้างขึ้นมาตลอดเวลาซึ่งยิ่งบริโภคมาก lgG ก็ยิ่งมาก การทำลายเนื้อเยื่อก็ยิ่งมากขึ้นนาน ๆ ไป เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น การทำงานของอวัยวะนั้น ๆ ก็จะเริ่มเสีย และปรากฏอาการของโรคขึ้นโดยที่เราไม่รู้ว่าโรคนั้นเกิดจากสาเหตุใด
FOOD INTOLERANCE เกิดขึ้นได้อย่างไร
FOOD INTOLERANCE เกิดขึ้นได้อย่างไร
1. เกิดจากกรรมพันธุ์ จากการที่ร่างกายมีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันสูงต่ออาหารบางชนิด
2. เกิดจากการที่ร่างกายมีระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ทั้งในแง่ของระบบภูมิคุ้มกันของทางเดินอาหารที่ไม่แข็งแรง ระบบย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพ ระบบการดูดซึมอาหารผิดปกติ เนื่องจากเยี่อบุผนังลำไส้ไม่แข็งแรง ทำให้การดูดซึมอาหารผ่านผนังลำไส้มากผิดปกติ (Intestinal Hyperpermeability or Leaky Gut) ทำให้อาหารที่ยังย่อยไม่หมด โดยเฉพาะโปรตีนที่ถูกย่อยไม่สมบูรณ์ขนาดใหญ่ถูกดูดซึมเข้าไป ทำให้เป็นสารแปลกปลอมจากภายนอกร่างกายที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
3. ภาวะเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ โดยปกติในลำไส้เรามีจุลชีพอยู่ 3 ประเภท คือ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ แบคทีเรียก่อเกิดโรค และยีสต์ ถ้ามีการลดปริมาณของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เช่น ในคนที่ทานยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ดีตายและลดปริมาณลง แต่ยีสต์กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นในลำไส้ ทำให้เยี่อบุลำไส้รั่ว อาหารบางชนิดถูกดูดซึมเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
อาการที่อาจเกิดจาก FOOD INTOLERANCE
อาการที่อาจเกิดจาก FOOD INTOLERANCE
1. ระบบประสาท ไมเกรน, ปวดหัว และพฤติกรรมอารมณ์ซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเมื่อยล้าและสมาธิสั้น
2. ระบบทางเดินหายใจ โรคจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ และโรคหอบหืด
3. ระบบกล้ามเนื้อ โรคไขข้อ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
4. ระบบทางเดินอาหาร อาเจียน ท้องอืด ตะคริวที่ท้อง คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องเสีย ปัญหาการควบคุมน้ำหนัก และอาการจุกเสียด
5. ผิวหนัง ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้ กลาก ผื่นคันและอื่นๆ
การตรวจ FOOD INTOLERANCE ที่โนวาวิด้ามีกี่รูปแบบ
การตรวจ FOOD INTOLERANCE ที่โนวาวิด้ามีกี่รูปแบบ
แนวทางป้องกันการแพ้อาหารแอบแฝงคือ การตรวจความไวต่ออาหารที่แพ้ หรือภูมิต้านทานต่ออาหาร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงก่อนเกิดอาการ โดยโนวาวิด้ามีการตรวจ 2 รูปแบบให้เลือกตามความต้องการ ได้แก่
1. IgG Detective 59 Food Allergens : การตรวจภูมิแพ้อาหาร 59 ชนิด ใช้เลือดเพียง 50 ไมโครลิตร ทราบผลภายใน 40 นาที
2. UAS Advanced Food Sensitivity Test 132 Food, Colorings, and Additives : การตรวจภาวะภูมิแพ้อาหารแอบแฝงและสารเคมี 132 ชนิด ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด แม่นยำยิ่งขึ้นโดยการส่งตรวจสหรัฐอเมริกา
3. IgG Detective 222 Food Allergens : การตรวจภูมิแพ้อาหาร IgG 222 ชนิด เป็นการตรวจโดยละเอียด ใช้เลือดประมาณ 2 มิลลิลิตร ทราบผลภายใน 3-5 วัน
การเตรียมตัวก่อนตรวจ FOOD INTOLERANCE
การเตรียมตัวก่อนตรวจ FOOD INTOLERANCE
• งดยาแก้แพ้ 4-7 วันก่อนตรวจ
• งดฉีดวัคซีน 1 เดือนก่อนตรวจ
• ตรวจเวลาใดก็ได้ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนตรวจ
หลังทราบผลตรวจ FOOD INTOLERANCE
หลังทราบผลตรวจ FOOD INTOLERANCE
• หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ปานกลางหรือรุนแรง ตามที่ระบุในผลตรวจ
• เวียนรับประทานอาหารที่แพ้ไม่รุนแรงแทน
• รับประทานอาหารให้หลากหลายชนิด